กาแฟของในหลวง
ใครจะรู้บ้างว่ากาแฟโครงการหลวงที่ให้ผลผลิตในรูปเมล็ดกาแฟดิบปีละ 250 – 300 ตันในวันนี้ จะเริ่มต้นมาจากต้นกาแฟเพียง 2
– 3 ต้นหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เล่าเรื่องโครงการหลวงมีความตอนหนึ่งว่า “เมื่อทรงตั้งโครงการหลวงแล้วไม่นาน
เวลาเสด็จประพาสต้นบนดอยก็ประกอบด้วยการปีนป่ายเขามาก
ในเรื่องนี้ผมถูกพวกในวังที่ต้องเดินตามเสด็จฯ นินทามากมายว่านำเสด็จฯ
ด้วยพระบาทไปเป็นชั่วโมงๆ เพื่อให้ทอดพระเนตรต้นกาแฟเพียง 2 – 3 ต้น ซึ่งก็จริงอยู่ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งเองว่า
การที่เสด็จฯ ไปนั้นทำให้ชาวเขาเห็นว่ากาแฟนั้นสำคัญ จึงสนใจที่จะปลูก
บัดนี้กาแฟบนดอยมีมากมาย และก็เริ่มต้นจาก 2 – 3 ต้นนั่นเอง”
กาแฟ 2 – 3 ต้นที่ว่านั้น มีเรื่องราวย้อนกลับไปในปีพ.ศ.
2517 ลุงพะโย ตาโร อดีตผู้ใหญ่บ้านหนองล่ม
สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
เล่าว่าตอนนั้นเขายังเป็นคนหนุ่มที่พูดภาษาไทยได้คล่องแคล่ว
มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมึกะคี
จึงได้รับมอบหมายจากผู้ใหญ่บ้านให้คอยรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทำให้ลุงพะโยมีโอกาสเข้าเฝ้าในหลวงอย่างใกล้ชิด
ลุงพะโยกล่าวว่า เมื่อมีรับสั่งถามถึงต้นกาแฟ
จึงได้นำทางไปทอดพระเนตร ทรงมีรับสั่งสอนให้มีการใส่ปุ๋ย และนำหญ้ามาใส่โคนต้น
เมื่อลุงพะโยนำเมล็ดกาแฟถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าเมล็ดกาแฟมีความสมบูรณ์ดี
และปลูกในพื้นที่ได้จึงมีรับสั่งให้ส่งเสริมการปลูกกาแฟโดยใช้เมล็ดที่นายพะโยนำมาถวาย
กลับคืนให้ชาวบ้านนำไปปลูกต่อ ต่อมาโครงการหลวงจึงได้เข้ามาส่งเสริมการปลูกกาแฟ
และนำวิธีการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม
ทุกวันนี้สวนกาแฟของลุงพะโยกลายเป็นสวนตัวอย่าง
นอกจากมีกาแฟเต็มสวนแล้ว ยังมีข้าวเต็มยุ้ง ถนนหนทางสะดวก มีไฟฟ้าใช้
สิ่งที่หายไปคือไร่ฝิ่น ที่เป็นเช่นนี้ลุงพะโยให้เหตุผลว่า “เป็นเพราะลุงปลูกกาแฟของในหลวง
แล้วส่งขายให้กับโครงการหลวง”
นายจะหมอ ขอบด้ง ชาวเขาเผ่ามูเซอหมู่บ้านขอบด้ง
สถานีวิจัยเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เล่าเสริมไว้ใน “เล่าเรื่องโครงการหลวง” โดย
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ความว่า
” พระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาตอนนั้นพวกเราปลูกฝิ่นอยู่ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปที่ไร่ฝิ่น
ถ่ายรูปแล้วบอกให้พวกเราเลิกปลูกฝิ่น หลังจากนั้นหม่อมเจ้า(ภีศเดช รัชนี)ก็ให้ปลูกท้อ บ๊วย สาลี่ กาแฟ ”
วันนี้กาแฟของในหลวงที่ทรงพระราชทานกลับให้เกษตรกรในหมู่บ้านหนองล่ม
ไม่ได้เป็นเพียงต้นกาแฟที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเท่านั้น
แต่ยังเป็นต้นกำเนิดของกาแฟอาราบิก้าโครงการหลวง และ อาราบิก้าในประเทศไทยอีกนับพัน
หมื่น แสนต้นในวันนี้
ปัจจุบันโครงการหลวงผลิตกาแฟ
โดยการรับซื้อกาแฟอาราบิก้าจากเกษตรกรในพื้นที่ส่งเสริมของมูลนิธิโครงการหลวง 20 แห่ง ได้แก่ อินทนนท์ อ่างขาง ป่าเมี่ยง ตีนตก
ห้วยโป่ง ม่อนเงาะ ห้วยน้ำขุ่น เป็นต้น โดยรับซื้อจากเกษตรกรรายย่อยกว่า 2,000
ราย ในรูปแบบกาแฟกะลา
(กาแฟที่ปอกเปลือกสีแดงออกเหลือแต่เมล็ดและเปลือกหุ้มเมล็ด) ปีละ 250 – 300
ตัน โดยจำหน่ายในรูปกาแฟเมล็ด (กาแฟดิบ) ให้แก่อุตสาหกรรมแปรรูปกาแฟ
และ จำหน่ายในรูปกาแฟคั่วภายใต้ชื่อ กาแฟดอยคำ
เรื่องกาแฟของในหลวง ก่อนนี้เราคงไม่รู้เลยว่าจะเริ่มต้นจากกาแฟเพียง
2 – 3 ต้น
ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธที่ทำให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่นได้อย่างแยบยล
จนกลายมาเป็นกาแฟดอยคำที่ให้รสชาติชวนลุ่มหลงและกลิ่นหอมกรุ่นที่ดื่มแล้วรู้สึกภาคภูมิใจเหลือเกินที่ได้เกิดในแผ่นดินใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร
พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร เล่าไว้ในหนังสือ "รอยพระยุคลบาท บันทึกความทรงจำของ พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร" ความตอนหนึ่งที่ฉายภาพให้เห็นชัดเจนถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระปรีชาสามารถ พระวิริยอุตสาหะและพระขันติธรรมของพระองค์ท่านในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชน โดยสรุปดังนี้
ในท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่สับสนและวุ่นวายในปลายปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งมวลเป็นปกติโดยไม่ทรงหวั่นไหว โดยเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ ตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ที่เชียงใหม่ และเสด็จออกเยี่ยมเยียนราษฎรทั้งราษฎรชาวเขาเผ่าต่างๆ กับประชาชนซึ่งอยู่ในที่ราบลุ่มตามที่ทรงปฏิบัติเสมอมาทุกปี ครั้งนั้นเจ้าอยู่หัวทรงขับรถยนต์พระที่นั่งด้วยพระองค์เอง ซึ่งทรงกระทำเช่นนี้เป็นปกติ ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งฝ่าฝุ่นแดงและความลุ่มดอนของถนนในสมัยนั้นออกเยี่ยมราษฎรอีกหลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่
ในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๑๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จฯ เสด็จไปเยี่ยมเยียนราษฎรซึ่งเป็นชาวเขาบนดอยอินทนนท์ ในการทรงเยี่ยมเยียนราษฎรชาวเขาครั้งนี้ หลังจากเสด็จด้วยรถยนต์พระที่นั่งทรงเยี่ยมชาวเขาเผ่าม้งที่บ้านขุนกลาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง
พระองค์และสมเด็จฯ ยังได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาท ไปตามไหล่เขาที่สูงบ้างต่ำบ้างเป็นระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร เพื่อทรงเยี่ยมชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่บ้านอังกาน้อย และทรงพระดำเนินต่อไปอีก 2 กิโลเมตร เพื่อพระราชทานไก่พันธุ์โร้ดไอส์แลนด์เร็ดและผ้าห่มให้แก่ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่บ้านท่าฝั่งเช่นเดียวกับที่บ้านอังกาน้อย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่เจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสอธิบายแก่พลตำรวจเอกวสิษฐ์ เดชกุญชร ว่า เหตุที่พระองค์ทรงพระดำเนินไปเป็นระยะทางไกลตามที่ ม.จ. ภีศเดช รัชนี กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ เพียงเพื่อไปทอดพระเนตรต้นกาแฟเพียงต้นเดียวนั้น ด้วยเมื่อก่อนชาวเข่าเผ่ากะเหรี่ยงบนดอยอินทนนท์ประกอบอาชีพปลูกฝิ่น พระองค์ท่านทรงไปพูดจาชี้แจงชักชวนให้เขามาลองปลูกกาแฟแทนฝิ่น เมื่อกาแฟไม่ตายเสียหมด แต่ยังเหลืออยู่หนึ่งต้นนั้น ต้องถือว่าเป็นความก้าวหน้าสำหรับกะเหรี่ยง จึงต้องไปทอดพระเนตร จะได้ทรงแนะนำเขาต่อไปได้ว่า ทำอย่างไรกาแฟจึงจะเหลืออยู่มากกว่าหนึ่งต้น
พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชรกล่าวว่าเรื่องนี้เป็นที่เข้าใจว่า เป็นไปตามพระบรมราโชบายที่ว่า ไม่โปรดการ "เร่งรัดพัฒนา" แต่โปรดให้ราษฎรเรียนรู้ด้วยตัวเองและรู้จักพัฒนาตนเอง ในปีต่อมาราษฎรชาวกะเหรี่ยงดอยอินทนนท์ ปลูกกาแฟได้ผลงามทั้งไร่ และบริษัทผลิตกาแฟในกรุงเทพฯ ได้ไปขอซื้อกาแฟ โดยให้ราคาสูงถึงกิโลละหนึ่งบาท ปรากฏว่าราษฎรชาวกะเหรี่ยงที่ดอยอินทนนท์ขายกาแฟได้เป็นเงินต่อไร่ต่อปีสูงกว่าที่เคยขายฝิ่นได้หลายสิบเท่า
ทำความรู้จักกับ Akara coffee
จำหน่ายเมล็ดกาแฟคั่ว คั่วบด กาแฟดริปแบบซอง พกพาสะดวก
สนใจสอบถามรายละเอียดหรือสั่งซื้อได้ที่
Fb. https://www.facebook.com/AKARACAFE/ส่งข้อความใน in boxได้ค่ะ
Line ID. jeab_monsinee
Tel. +668 4659 2461
Fb. https://www.facebook.com/AKARACAFE/ส่งข้อความใน in boxได้ค่ะ
Line ID. jeab_monsinee
Tel. +668 4659 2461