หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กาแฟของในหลวง


กาแฟของในหลวง


ใครจะรู้บ้างว่ากาแฟโครงการหลวงที่ให้ผลผลิตในรูปเมล็ดกาแฟดิบปีละ 250 – 300 ตันในวันนี้ จะเริ่มต้นมาจากต้นกาแฟเพียง 2 – 3 ต้นหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เล่าเรื่องโครงการหลวงมีความตอนหนึ่งว่า “เมื่อทรงตั้งโครงการหลวงแล้วไม่นาน เวลาเสด็จประพาสต้นบนดอยก็ประกอบด้วยการปีนป่ายเขามาก ในเรื่องนี้ผมถูกพวกในวังที่ต้องเดินตามเสด็จฯ นินทามากมายว่านำเสด็จฯ ด้วยพระบาทไปเป็นชั่วโมงๆ เพื่อให้ทอดพระเนตรต้นกาแฟเพียง 2 – 3 ต้น ซึ่งก็จริงอยู่ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งเองว่า การที่เสด็จฯ ไปนั้นทำให้ชาวเขาเห็นว่ากาแฟนั้นสำคัญ จึงสนใจที่จะปลูก บัดนี้กาแฟบนดอยมีมากมาย และก็เริ่มต้นจาก 2 – 3 ต้นนั่นเอง


าแฟ 2 – 3 ต้นที่ว่านั้น มีเรื่องราวย้อนกลับไปในปีพ.ศ. 2517 ลุงพะโย ตาโร อดีตผู้ใหญ่บ้านหนองล่ม สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่าตอนนั้นเขายังเป็นคนหนุ่มที่พูดภาษาไทยได้คล่องแคล่ว มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมึกะคี จึงได้รับมอบหมายจากผู้ใหญ่บ้านให้คอยรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ลุงพะโยมีโอกาสเข้าเฝ้าในหลวงอย่างใกล้ชิด
ลุงพะโยกล่าวว่า เมื่อมีรับสั่งถามถึงต้นกาแฟ จึงได้นำทางไปทอดพระเนตร ทรงมีรับสั่งสอนให้มีการใส่ปุ๋ย และนำหญ้ามาใส่โคนต้น เมื่อลุงพะโยนำเมล็ดกาแฟถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าเมล็ดกาแฟมีความสมบูรณ์ดี และปลูกในพื้นที่ได้จึงมีรับสั่งให้ส่งเสริมการปลูกกาแฟโดยใช้เมล็ดที่นายพะโยนำมาถวาย กลับคืนให้ชาวบ้านนำไปปลูกต่อ ต่อมาโครงการหลวงจึงได้เข้ามาส่งเสริมการปลูกกาแฟ และนำวิธีการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม

ทุกวันนี้สวนกาแฟของลุงพะโยกลายเป็นสวนตัวอย่าง นอกจากมีกาแฟเต็มสวนแล้ว ยังมีข้าวเต็มยุ้ง ถนนหนทางสะดวก มีไฟฟ้าใช้ สิ่งที่หายไปคือไร่ฝิ่น ที่เป็นเช่นนี้ลุงพะโยให้เหตุผลว่า เป็นเพราะลุงปลูกกาแฟของในหลวง แล้วส่งขายให้กับโครงการหลวง
นายจะหมอ ขอบด้ง ชาวเขาเผ่ามูเซอหมู่บ้านขอบด้ง สถานีวิจัยเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เล่าเสริมไว้ใน เล่าเรื่องโครงการหลวงโดย หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ความว่า
พระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาตอนนั้นพวกเราปลูกฝิ่นอยู่ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปที่ไร่ฝิ่น ถ่ายรูปแล้วบอกให้พวกเราเลิกปลูกฝิ่น หลังจากนั้นหม่อมเจ้า(ภีศเดช รัชนี)ก็ให้ปลูกท้อ บ๊วย สาลี่ กาแฟ

วันนี้กาแฟของในหลวงที่ทรงพระราชทานกลับให้เกษตรกรในหมู่บ้านหนองล่ม ไม่ได้เป็นเพียงต้นกาแฟที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเท่านั้น แต่ยังเป็นต้นกำเนิดของกาแฟอาราบิก้าโครงการหลวง และ อาราบิก้าในประเทศไทยอีกนับพัน หมื่น แสนต้นในวันนี้
ปัจจุบันโครงการหลวงผลิตกาแฟ โดยการรับซื้อกาแฟอาราบิก้าจากเกษตรกรในพื้นที่ส่งเสริมของมูลนิธิโครงการหลวง 20 แห่ง ได้แก่ อินทนนท์ อ่างขาง ป่าเมี่ยง ตีนตก ห้วยโป่ง ม่อนเงาะ ห้วยน้ำขุ่น เป็นต้น โดยรับซื้อจากเกษตรกรรายย่อยกว่า 2,000 ราย ในรูปแบบกาแฟกะลา (กาแฟที่ปอกเปลือกสีแดงออกเหลือแต่เมล็ดและเปลือกหุ้มเมล็ด) ปีละ 250 – 300 ตัน โดยจำหน่ายในรูปกาแฟเมล็ด (กาแฟดิบ) ให้แก่อุตสาหกรรมแปรรูปกาแฟ และ จำหน่ายในรูปกาแฟคั่วภายใต้ชื่อ กาแฟดอยคำ

เรื่องกาแฟของในหลวง ก่อนนี้เราคงไม่รู้เลยว่าจะเริ่มต้นจากกาแฟเพียง 2 – 3 ต้น ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธที่ทำให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่นได้อย่างแยบยล จนกลายมาเป็นกาแฟดอยคำที่ให้รสชาติชวนลุ่มหลงและกลิ่นหอมกรุ่นที่ดื่มแล้วรู้สึกภาคภูมิใจเหลือเกินที่ได้เกิดในแผ่นดินใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร

พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร เล่าไว้ในหนังสือ "รอยพระยุคลบาท บันทึกความทรงจำของ พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร" ความตอนหนึ่งที่ฉายภาพให้เห็นชัดเจนถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระปรีชาสามารถ พระวิริยอุตสาหะและพระขันติธรรมของพระองค์ท่านในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชน โดยสรุปดังนี้

ในท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่สับสนและวุ่นวายในปลายปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งมวลเป็นปกติโดยไม่ทรงหวั่นไหว โดยเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ ตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ที่เชียงใหม่ และเสด็จออกเยี่ยมเยียนราษฎรทั้งราษฎรชาวเขาเผ่าต่างๆ กับประชาชนซึ่งอยู่ในที่ราบลุ่มตามที่ทรงปฏิบัติเสมอมาทุกปี ครั้งนั้นเจ้าอยู่หัวทรงขับรถยนต์พระที่นั่งด้วยพระองค์เอง ซึ่งทรงกระทำเช่นนี้เป็นปกติ ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งฝ่าฝุ่นแดงและความลุ่มดอนของถนนในสมัยนั้นออกเยี่ยมราษฎรอีกหลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่

ในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๑๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จฯ เสด็จไปเยี่ยมเยียนราษฎรซึ่งเป็นชาวเขาบนดอยอินทนนท์ ในการทรงเยี่ยมเยียนราษฎรชาวเขาครั้งนี้ หลังจากเสด็จด้วยรถยนต์พระที่นั่งทรงเยี่ยมชาวเขาเผ่าม้งที่บ้านขุนกลาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง

พระองค์และสมเด็จฯ ยังได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาท ไปตามไหล่เขาที่สูงบ้างต่ำบ้างเป็นระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร เพื่อทรงเยี่ยมชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่บ้านอังกาน้อย และทรงพระดำเนินต่อไปอีก 2 กิโลเมตร เพื่อพระราชทานไก่พันธุ์โร้ดไอส์แลนด์เร็ดและผ้าห่มให้แก่ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่บ้านท่าฝั่งเช่นเดียวกับที่บ้านอังกาน้อย



ต่อจากนั้นยังทรงพระดำเนินต่อไปอีกประมาณหนึ่งกิโลเมตร จนถึงไร่กาแฟที่ราษฎรชาวกะเหรี่ยงปลูกไว้ รวมเป็นระยะทางที่ทรงพระดำเนินทั้งสิ้นในบ่ายวันนั้นประมาณ ๖ กิโลเมตร เพื่อทอดพระเนตรไร่กาแฟที่มีต้นกาแฟให้พระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเพียงต้นเดียว




สร็จจากการทอดพระเนตรต้นกาแฟต้นเดียวแล้ว พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จฯ ยังต้องทรงพระดำเนินกลับออกไปยังรถยนต์พระที่นั่งที่จอดไว้ที่แยกปากทางเข้าบ้านอังกาน้อย รวมเป็นระยะทางที่เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทในวันนั้นประมาณ ๑๒ กิโลเมตร แล้วพระเจ้าอยู่หัวยังต้องทรงขับรถยนต์พระที่นั่งกลับด้วยพระองค์เองอีกจนถึงพระตำหนักด้วย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่เจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสอธิบายแก่พลตำรวจเอกวสิษฐ์ เดชกุญชร ว่า เหตุที่พระองค์ทรงพระดำเนินไปเป็นระยะทางไกลตามที่ ม.จ. ภีศเดช รัชนี กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ เพียงเพื่อไปทอดพระเนตรต้นกาแฟเพียงต้นเดียวนั้น ด้วยเมื่อก่อนชาวเข่าเผ่ากะเหรี่ยงบนดอยอินทนนท์ประกอบอาชีพปลูกฝิ่น พระองค์ท่านทรงไปพูดจาชี้แจงชักชวนให้เขามาลองปลูกกาแฟแทนฝิ่น เมื่อกาแฟไม่ตายเสียหมด แต่ยังเหลืออยู่หนึ่งต้นนั้น ต้องถือว่าเป็นความก้าวหน้าสำหรับกะเหรี่ยง จึงต้องไปทอดพระเนตร จะได้ทรงแนะนำเขาต่อไปได้ว่า ทำอย่างไรกาแฟจึงจะเหลืออยู่มากกว่าหนึ่งต้น 

พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชรกล่าวว่าเรื่องนี้เป็นที่เข้าใจว่า เป็นไปตามพระบรมราโชบายที่ว่า ไม่โปรดการ "เร่งรัดพัฒนา" แต่โปรดให้ราษฎรเรียนรู้ด้วยตัวเองและรู้จักพัฒนาตนเอง ในปีต่อมาราษฎรชาวกะเหรี่ยงดอยอินทนนท์ ปลูกกาแฟได้ผลงามทั้งไร่ และบริษัทผลิตกาแฟในกรุงเทพฯ ได้ไปขอซื้อกาแฟ โดยให้ราคาสูงถึงกิโลละหนึ่งบาท ปรากฏว่าราษฎรชาวกะเหรี่ยงที่ดอยอินทนนท์ขายกาแฟได้เป็นเงินต่อไร่ต่อปีสูงกว่าที่เคยขายฝิ่นได้หลายสิบเท่า



ทำความรู้จักกับ Akara coffee
จำหน่ายเมล็ดกาแฟคั่ว คั่วบด กาแฟดริปแบบซอง พกพาสะดวก
 สนใจสอบถามรายละเอียดหรือสั่งซื้อได้ที่
Fb. https://www.facebook.com/AKARACAFE/ส่งข้อความใน in boxได้ค่ะ
Line ID. jeab_monsinee
Tel. +668 4659 2461

ไม่มีความคิดเห็น: